9/9/54

วิทยานิพนธ์ ของ สาธิน ประจันบาน


การพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับปรุง
ความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ

วิทยานิพนธ์ ของ สาธิน ประจันบาน

สาขาวิชาพลศึกษา  ภาควิชาพลศึกษา
คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปีการศึกษา 2546

ความสำคัญของปัญหา
                ในปัจจุบันโรคที่ทำให้เกิดความพิการทางร่างกายในเด็กที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือเรียกอย่างย่อว่า เด็กพีซี (CP) อาการสมองพิการในเด็ก เป็นกลุ่มอาการที่มีความบกพร่องทางด้านการเคลื่อนไหวและท่าทางต่างๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการมีพยาธิสภาพของสมอง พยาธิสภาพนั้นอาจเกิดระหว่างตั้งครรค์ ระหว่างการคลอด หรือหลังคลอดไม่นานทำให้เกิดความพิการบกพร่องของการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหว และการรับความรู้สึก
                จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยเรื่องนี้มีความสนใจที่นำวิธีการฝึกการเคลื่อนไหวแบบโดสะโฮ(Dohsa – Hou) และวิธีการฝึกการเคลื่อนไหวแบบโบบาต (Bobath) มาศึกษา วิเคราะห์แนวคิด ข้อดีและข้อเสียของทั้งสองวิธี ซึ่งวิธีการเคลื่อนไหวแบบโดสะโฮ (Dohsa – Hou) มีแนวคิดที่ว่ากลไกทางจิตใจ นั้นสั่งร่างกายถึงจะเกิดการเคลื่อนไหว โดยก่อนที่จะเคลื่อนไหวได้นั้นจะต้องเริ่มจากความคิด ความตั้งใจ และนำไปสู่ความพยายามที่จะเชื่อมโยงไปสู่ร่างกายสั่งให้เกิดการเคลื่อนไหว
              
                และวิธีการฝึกการเคลื่อนไหวแบบโบบาต (Bobath) ซึ่งมีแนวคิดที่ว่า สมองมีอิทธิพลในการควบคุมปรับแต่งส่วนรอบนอก (Periphery) ของร่างกาย และส่วนรอบนอกก็ควบคุมปรับแต่งสมอง หรือระบบประสาทส่วนกลางด้วย ส่วนรอบนอก และสมองเป็นลักษณะที่เปลี่ยนกันได้ กล่าวคือ เป็นวิธีการที่เร่งเร้าการเคลื่อนไหวปกติ โดยการฝึกร่างกายให้มีการเคลื่อนไหว โดยมีสมองเป็นตัวควบคุม และในทางกลับกันการฝึกทางร่างกาย เช่น แขน ขา ลำตัว ฯลฯ ก็สามารถไปควบคุมการทำงาน หรือปรับแต่งสมองให้ทำงานได้ดีขึ้น 
โดยมีวิธีการฝึก 3 วิธีการใหญ่ๆ ได้แก่
                1. กายภาพบำบัดและกิจกรรมบำบัด
                2. กายบริหารบำบัด
            3. การจัดสร้างภาวะมั่นคง มาใช้ฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็สมองพิการในเรื่องความสามารถในการเคลื่อนไหว                                                                                           
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
                พัฒนาโปรแกรม เพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
ขอบเขตการวิจัย
             1. การวิจัยครั้งนี้มุ่งที่จะพัฒนาโปรแกรม เพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
         2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มประชากรจำนวน 8 คน โดยแบ่งออกเป็นเด็สมองพิการจำนวน 4 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 3-8 ปี เป็นเพศชาย 3 คน หญิง 1 คน และ พ่อแม่ ครู ญาติ หรือผู้ดูแลเด็กสมองพิการจำนวน 4 คน จากหน่วยงานมูลนิธิสถาบันแสงสว่าง โดยกลุ่มตัวอย่างทุกคนที่เป็นเด็กสมองพิการต้องได้รับการยินยอมเข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้จากผู้ปกครอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
            1. โปรแกรมการฝึกเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
            2. แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
            3. แบบประเมินความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในเด็กสมองพิการ
            4. แบบประเมินความถูกต้องในการปฏิบัติของพ่อแม่ ครู ญาติ หรือผู้ดุแลเด็กสมองพิการ
      5. แบบบันทึกรูปภาพโดยการถ่ายรูปก่อนและหลังการฝึกใช้โปรแกรมเพื่อปรับปรุงความสามารถในการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ

สรุปผลการวิจัย
                โปรแกรมฝึกเป็นโปรแกรมซึ่งแยกตามระดับความสามารถของเด็กสมองพิการ โดยผู้วิจัยได้แยกโปรแกรมการฝึกออกเป็น 4 เล่ม ตามลำดับพัฒนาการคือ 1. ระดับนั่ง 2. ระดับยืนบนเข่า 3. ระดับยืน 4. ระดับเดิน จากแบบประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างพบว่า โปรแกรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประโยชน์มากสำหรับพ่อแม่ ครู ญาติ หรือผู้ดูแลสมองเด็กพิการและผู้ที่ต้องการอีกมากมายที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมา และจะทำให้สามารถให้ความช่วยเหลือแก่เด็กสมองพิการได้อย่างถูกต้องซึ่งเนื่องมาจากเหตุผลต่อไปนี้
          1. พัฒนาการของเด็กสมองพิการมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนเมื่อสังเกตคะแนนของแบบประเมินความสามารถทางการเคลื่อนไหวของเด็กสมองพิการ
                2. เด็กสมองพิการเกิดแรงจูงใจอยากกระทำมากขึ้น เมื่อสามารถปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆได้
                3. โปรแกรมฝึกประกอบด้วยภาพสีสวยงาม ชัดเจน มีข้อความอธิบายสั้นๆ อ่านง่าย
                4. มีการย่อยขั้นตอนในการฝึกแต่ละขั้นอย่างละเอียด จนสามารถทำตามได้ง่าย
             5. ทำให้รับรู้และเข้าใจในเด็กสมองพิการมากขึ้น

12/8/54

ง่ายๆ...สำหรับผู้ไม่มีเวลาออกกำลังกาย



วิธีที่ง่ายๆ...สำหรับคนที่ไม่มีเวลาออกกำลังกาย



การวิ่งอยู่กับที่ก็คล้าย ๆ กับการกระโดดเชือก เป็นการกระโดดซอยเท้าอยู่กับที่เดิมนั่นเอง ไม่ไปไหน ต่างกันที่การวิ่งอยู่กับที่ ตามแบบแอโรบิคนั้นต้องจะต้องยกเท้าให้สูงพอสมควร ตามกติกาของ นายแพทย์คูเปอร์ นั้น การวิ่งอยู่กับที่จะต้องยกเท้าแต่ละข้าง ให้สูงพ้นพื้นขึ้นมาไม่น้อยกว่า 20 เซ็นติเมตร หนักและเหนื่อยพอดูทีเดียว ดีกว่ากระโดดเชือกนิดหนึ่งตรงที่ไม่ต้องแกว่งแขนทั้ง 2 ข้างไปด้วย
เหตุที่บางคนเลือกเอาการวิ่งอยู่กับที่แทนการวิ่งไปตามถนนนั้น อาจเพราะหาถนนหรือสวนสาธารณะที่เหมาะแก่การวิ่งไม่ได้ หรืออาจจะเพราะเป็นคนขี้อายและรู้สึกเขินที่จะวิ่งไปท่ามกลางสายตาผู้อื่น หรือบางคนอาจกลัวอุบัติเหตุถูกรถเฉี่ยว รถชน หรือถูกจี้ ถูกสุนัขไล่กัดก็ได้ คงจะคล้ายกับการถีบจักรยานอยู่กับที่ และการถีบจักรยานนอกบ้านนั่นเอง การวิ่งอยู่กับที่นั้นทำได้สะดวกในทุกๆ ที่ อาจทำที่ระเบียงบ้าน ห้องรับแขก (เวลาที่ไม่มีแขก ) ในห้องนอน หรือแม้ในห้องน้ำ ก็ทำได้ ผู้เขียนทราบว่ามีบางคนชอบเปลือยกายวิ่งอยู่กับที่ในห้องน้ำ บอกว่าเบาและสบายตัวดี ซึ่งไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ขอเพียงแต่ ให้ระวังพื้นห้องน้ำที่เปียก หรือลื่นเพราะฟองสบู่ก็แล้วกัน
สำหรับคุณผู้หญิงที่กลัวว่าวิ่งแล้วจะถูกแดดถูกลม ทำให้เกิดไฝฝ้าและผิวหมองคล้ำแล้ว การวิ่งอยู่กับที่ในที่ร่ม ย่อมรับรองได้ว่า พ้นแน่แต่ที่จะเกิดไฝฝ้าหรือไม่นั้นยังรับรองไม่ได้ เพราะมีปัจจัยอื่นที่นอกจากแดดลมมาเกี่ยวข้องด้วย


http://www.thairunning.com/Run_not_move.htm

5/8/54

สร้างความแข็งแรงด้วยมือเรา

.......ก่อนหน้าที่ผู้คนจะรู้จักอุปกรณ์บริหารร่างกาย มือทั้งสองก็ได้เริ่มต้นทำหน้าที่อันนี้เป็นเวลาอันยาวนาน ซึ่งก็สร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์สมัยใหม่แต่อย่างใด  บริหารกล้ามเนื้อด้วยมือเปล่าทำได้หลายวิธี ทำที่ไหนก็ได้ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนทั่วไป สะดวกและประหยัด วิธีที่นิยมมีด้วยกันหลายอย่าง ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นพื้นฐานแบบยอดนิยม


1. กระโดดอยู่กับที่ (Jumping jack)
    เพื่อปรับปรุงสมรรถภาพปอดและการทำงานของหัวใจ เวลากระโดดขึ้นๆ   ลงๆ ร่างกายทุกส่วนจะขยับตามไปด้วย จึงถือเป็นการวอร์มอัพร่างกายที่ดีอย่างหนึ่ง ก่อนเริ่มบริหารกายอย่างจริงจัง  *ข้อควรระวังของการกระโดดคือ น้ำหนักของร่างกายที่กดลงบนข้อเท้า ซึ่งถ้ากระทำผิดพลาดอาจเกิดพลิกหรือแพลงขึ้นได้




2. การดึงตัว (Pull ups)
    เหมาะต่อการฟิตกล้ามเนื้อตรงส่วนหัวไหล่ กล้ามที่แขนและกล้ามเนื้อแผ่นหลัง เนื่องจากมันเป็นการออกแรงที่ค่อนข้างมากในการดึงตัวสูงขึ้น  จึงควรเริ่มใหม่ด้วยการทำเพียง 3-5 ครั้ง  เพื่อดูว่าคุณมีอาการปวดหรือไม่ในวันต่อมา ถ้ามีก็ควรหยุดพัก หายแล้วจึงเริ่มต้นใหม่ วิธีดึงตัวที่ถูกต้องคือ จับบาร์โหน ฝ่ามือหันออก  ดึงตัวให้สูงจนปลายคางอยู่เหนือบาร์นั้น


3. การวิดพื้น (Press ups)
    สร้างความแข็งแรงให้กับช่วงอกและแขนทั้งสองได้เท่าเทียมกัน   การวางท่าที่ถูกต้อง คือ ลำตัวตรงเฉียงทำมุม 45 องศากับพื้น ฝ่ามือวางราบกับพื้นปลายเท้าชิด ทิ้งน้ำหนักตัวบนฝ่ามือและปลายเท้า ลำตัวสูงจากพื้นเล็กน้อย ตามองพื้น ค่อยๆ ผลักลำตัวขึ้นจากพื้นช้าๆ ทำ 1-20 ครั้ง และเพิ่มจำนวนครั้ง เมื่อร่างกายแกร่งขึ้น


4. บริหารกล้ามท้อง (Sit ups)
    นอนให้แผ่นหลังราบกับพื้นมากที่สุด เพราะถ้าราบไม่สนิท   เล่นไปจะทำให้หลังเจ็บ เท้ายกชันแยกห่างพอประมาณ วางเท้าแนบพื้นตลอดเวลา ห้ามยกขึ้น  ค่อยๆ ยกตัวขึ้น อย่าใช้แขนเหนี่ยวคอดึงตัวขึ้น หรือใช้หัวเข่าช่วย




http://dopah.anamai.moph.go.th/news_detail.php?id=19

ออกกำลังกายอย่างไร?ไม่ให้บาดเจ็บ

ขั้นตอนการออกกําลังกายประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 
      1. การเหยียดและยืดกล้ามเนื้อ (stretching exercise)
      2. การอบอุ่นร่างกาย (warm up)
      3. การออกกำลังกายต่อเนื้อง เช่น เดินเร็ว วิงเหยาะ ว่ายนํ้า ปั่นจักยาน
      4. การผ่อนร่างกายให้เย็นลง (cool down)


การเหยียดและยืดกล้ามเนื้อ  
ก่อนออกกำลังกายควรบริหารโดยการยืดข้อและมัดกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นการเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อและกล้ามเนื้อ และช่วยลดการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อและข้อต่อขณะออกกำลังกายเต็มที่โดยยืดกล้ามเนื้อออกช้าๆจนรู้สึกตึง เช่น การนั่งลงกับพื้นแล้วก้มแตะปลายเท้าช้าๆ แล้วยืนขึ้นเพื่อบริหารไหล่ ต้นคอ แขนและขา การยืดเหยียด แต่ละท่าให้ทําแล้วค้างไว้ ประมาณ 5-10 วินาที



การอบอุ่นร่างกาย
หลังจากการเหยียดและยืดกล้ามเนื้อแล้วก่อนเริ่มออกกำลังกายควรอุ่นร่างกายให้มีอุณหภูมิอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่ร่างกายสามารถทําหน้าที่ได้ดีที่สุดก่อนโดยการอบอุ่นร่ายกาย  ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ การอบอุ่นร่างกายเฉพาะ เช่น ถ้าจะวิ่งเหยาะอาจทําการเดินเร็วหรือวิ่งช้าๆ สัก 3-5 นาที ก่อนเพื่อให้หัวใจค่อยๆ เต้นเร็วขึ้น การทีร่างกายอบอุ่นจะช่วยให้หน่วยกล้ามเนื้อและเอ็นสามารถยืดตัวได้ดีขึ้น




เริ่มออกกําลังกาย
ให้ออกกำลังกายที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ ที่ไม่ต้องออกแรงมาก มีความต่อเนื่อง และใช้เวลานานพอควร  เช่น การวิ่ง วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน กิจกรรมเข้าจังหวะ ว่ายนํ้า ไทเก็ก หรือรําไม้พลอง  ที่เรียกว่า การออกกาลังกายชนิดแอร์โรบิก ควรออกกำลังกายด้วยความหนักปานกลางและไม่ควรหักโหม และออกกำลังกายอยู่ที่ระดับนี้ติดต่อกันนาน 15-30 นาที

การผ่อนร่างกายให้เย็นลง
หลังเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายไม่ควรเลิกหรือหยุดทันที ควรค่อยๆผ่อนความเร็วและความแรงของการออกกำลังกายลงทีละน้อย เป็นการลดสภาวะร่างกายก่อนจะหยุดกิจกรรม เพื่อให้หัวใจค่อยๆ เต้นช้าลงในขณะเดียวกัน จะช่วยให้โลหิตที่คั่งอยู่ตามกล้ามเนื้อแขนขาในขณะออกกำลังกายอย่างจริงจังนั้นกลับเข้าระบบไหลเวียน เพื่อแจกจ่ายไปตามอวัยวะสําคัญได้อยางเพียงพอ


http://www.kkopc.org

28/7/54

ฟุตซอลมาได้...อย่างไร?



เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ประเทศในบางทวีปของโลกที่ประสบกับปัญหาหิมะตกและสภาพอากาศที่หนาวมากจนไม่ สามารถจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้งต่างๆ ได้ รวมทั้งกีฬาฟุตซอลด้วย จึงถือเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันแต่เนื่องจากฤดูหนาวมีระยะเวลาที่ยาวนาน และสภาพอากาศกลางแจ้งไม่เอื้ออำนวยต่อการเล่นกีฬาฟุตบอล จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนหันมาเล่นกีฬาในร่มแทน และนี่คือที่มาของกีฬาฟุตบอลในร่ม 5 คน หรือที่เรียกว่า “ ฟุตซอล” (FUTSAL )


Futsal Skills

FUTSAL มาจากภาษาสเปน หรือ โปรตุเกส ที่เรียกว่าฟุตบอล ว่า “FUTbol” หรือ “FUTTEbol” ตามด้วยภาษาฝรั่งเศสและสเปน คือ “SALa หรือ SALon ที่แปลว่า อินดอร์ หรือในร่ม เมื่อรวมกัน จึงเป็นคำว่า “FUTSAL” หมายถึง การเตะบอลในสนามขนาดย่อมในร่ม กลายเป็นคำที่เรียกขานกันแทนคำว่า “Five-A-Side” หรือบอล 5 คนในปัจจุบัน


วงการฟุตซอลประเทศสเปน


การแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในประเทศไทย
ประเทศไทยได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2540 ด้วยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายที่ช่วยกันผลักดันกีฬาชนิดนี้ให้ได้รับความนิยมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร การกีฬาแห่งประเทศไทย และเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ร่วมกันจัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ในรายการ “STAR IN DOOR SOCCER 1997” เมื่อวันที่ 12 – 21 กรกฎาคม 2540 ณ เดอะมอลล์ บางกะปิ โดยมี 12 ทีมสโมสรชั้นนำจากไทยแลนด์ลีกเข้าร่วมการแข่งขัน และทีมการท่าเรือแห่งประเทศไทยชนะเลิศ

ในปีต่อมาได้จัดการแข่งขันฟุตบอล 5 คน ขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ “ ทีมกรุงเทพมหานคร” ชนะแชมป์เก่าการท่าเรือแห่งประเทศไทย



 เลิศชาย อิสราสุวิภากรณ์ นักฟุตซอลชาติไทย(ด้านขวา)

http://www.siamsport.co.th/Column/100408_072.html
http://www.youtube.com/watch?v=-9RMntqZRM4&feature=related

22/7/54

ไทย.. .เจ้าภาพฟุตซอลโลก 2012 !




       ฟุตซอลทีมชาติไทย เป็นทีมฟุตซอลตัวแทนจากประเทศไทยร่วมแข่งขันในระดับนานาชาติภายใต้  การดูแลของสมาคมฟุตบอลไทย   ทีมชาติไทยในอดีตได้ร่วมเล่นฟุตซอลเวิลด์คัพ  2 ครั้ง ในปี 2000 และ 2004 ส่วนในระดับเอเชียนั้น ผลงานที่ดีสุดคือ ได้อันดับ 2 ในการแข่งขัน เอเอฟซีฟุตซอลแชมเปียนชิพ 1ครั้ง

pan wave4

นายวรวีร์ มะกูดี รักษาการนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เผยกำหนดวันแข่งขันฟีฟ่า ฟุตซอล เวิลด์คัพ 2012 เป็นวันที่ 2 - 18 พ.ย. ปีหน้า 

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 หรือ "ฟีฟ่า ฟุตซอล เวิลด์คัพ 2012" ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน ล่าสุดนี้ได้มีการแจ้งช่วงเวลาในการแข่งขันแล้


"ฟีฟ่ายี" วรวีร์ มะกูดี รักษาการนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้กล่าวในการประชุมสภากรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ที่ห้องประชุมศูนย์ฝึกฟุตบอลหนองจอก วันที่ 23 พ.ย. 2554 ว่า "การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก 2012 ได้ประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากนานาชาติให้เป็นเจ้าภาพนั้น มีกำหนดการแข่งขัน 2 - 18 พ.ย. 2555"


สำหรับสนามที่จะใช้แข่งนั้นฟีฟ่ามีกำหนดการเดินทางมาตรวจความพร้อมของสนามต่างๆที่จะใช้จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 4 - 8 เมษายน นี้ โดยมี 6 จังหวัดที่เสนอจัดได้แก่ สงขลา,เชียงใหม่,ภูเก็ต,นครราชสีมา,สุพรรณบุรี และ กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ต้องดูว่าทางฟีฟ่าจะจัดระบบการแข่งขันอย่างไร ในจำนวน 24 ชาตินั้นอาจจะแบ่งเป็นสายละ 4 ทีม จำนวน 6 สาย หรือ สายละ 6 ทีม จำนวน 4 สาย ในกรณีที่จัดแข่งแบบ 4 สาย อาจจะต้องตัดสนามที่ใช้แข่งออกไป 2 แห่ง